Business

อินโดรามา เวนเจอร์ส รายงานผลประกอบการไตรมาส 2 ปี 2567 ที่คงเสถียรภาพ

Spread the love

อินโดรามา เวนเจอร์ส รายงานผลประกอบการไตรมาส 2 ปี 2567 ที่คงเสถียรภาพ ด้วยแรงหนุนจากปริมาณขายที่ฟื้นตัวขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปและความก้าวหน้าในการดำเนินกลยุทธ์ IVL 2.0

สรุปผลการดำเนินงานไตรมาส 2 ปี 2567

  • ปริมาณขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 เมื่อเทียบไตรมาสต่อไตรมาส และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 เมื่อเทียบปีต่อปี เท่ากับ 64 ล้านตัน
  • Adjusted EBITDA เท่ากับ 370 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 เมื่อเทียบไตรมาสต่อไตรมาส และลดลงร้อยละ 11 เมื่อเทียบปีต่อปี
  • กระแสเงินสดจากการดำเนินงานเท่ากับ 494 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 168 เมื่อเทียบไตรมาสต่อไตรมาส และร้อยละ -1 เมื่อเทียบปีต่อปี
  • สัดส่วนหนี้สินจากการดำเนินงานสุทธิต่อ Adjusted EBITDA เท่ากับ 97 เท่า
  • กำไรต่อหุ้นเท่ากับ -4.13 บาท และ กำไรหลักต่อหุ้น (ปรับปรุง) เท่ากับ 18

บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) หรือ IVL ผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ชั้นนำระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน รายงานผลการดำเนินงานรายไตรมาสที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยได้รับแรงหนุนจากปริมาณขายที่ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป และจากการที่ฝ่ายบริหารดำเนินการตามกลยุทธ์ IVL 2.0 ของบริษัทฯ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของโรงงาน ลดต้นทุน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

อินโดรามา เวนเจอร์ส มี Adjusted EBITDA[1] เท่ากับ 370 ล้านเหรียญสหรัฐ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2567 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 เมื่อเทียบไตรมาสต่อไตรมาส และลดลงร้อยละ 11 เมื่อเทียบปีต่อปี ปริมาณขายของบริษัทฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 เมื่อเทียบไตรมาสต่อไตรมาส เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจที่ซบเซา แต่ยังมีสัญญาณสิ้นสุดของช่วงเวลาการระบายสต็อกที่ยืดเยื้อมาตั้งแต่ช่วงปลายปี 2565 อัตราการผลิตในช่วงครึ่งแรกของปี 2567 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 74 เป็นร้อยละ 76 หรือร้อยละ 81 หากนำผลของการปรับปรุงสินทรัพย์มาพิจารณาร่วมด้วย แม้ว่าจะยังอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตก็ตาม ซึ่งตอกย้ำให้เห็นถึงสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ซบเซา

กลุ่มธุรกิจ Indovinya มีผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งจากส่วนต่างกำไรที่ปรับเพิ่มขึ้นและอุปสงค์ที่ฟื้นตัวขึ้นสำหรับผลิตภัณฑ์ปลายน้ำที่มีมูลค่าเพิ่มสูง ส่วนธุรกิจบรรจุภัณฑ์ซึ่งเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น Indovida ก็มีผลการดำเนินงานที่ดีเช่นกัน เนื่องจากมีฐานการผลิตชั้นนำในตลาดเกิดใหม่

เมื่อมองไปข้างหน้า อินโดรามา เวนเจอร์ส มีแรงหนุนจากสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้นจากระดับสินค้าคงคลังของลูกค้าที่กลับเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งคาดว่าจะกระตุ้นให้ปริมาณขายของทุกกลุ่มธุรกิจเติบโตขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2567  บริษัทฯ คาดว่าจะได้รับประโยชน์ในช่วงครึ่งหลังของปี 2567 จากข้อได้เปรียบของ Shale Gas ในประเทศสหรัฐอเมริกา เห็นได้จากส่วนต่างกำไรสำหรับโรงกลั่นเอทิลีน (ethylene) ซึ่งจะส่งผลเชิงบวกต่อธุรกิจ MEG แบบบูรณาการของบริษัท นอกจากนี้ ราคาสินค้านำเข้าที่ยังคงอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่องในตลาดตะวันตก ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของบริษัทฯ ในฐานะผู้ประกอบการชั้นนำในภูมิภาค

ขณะที่อุตสาหกรรมโพลีเอสเตอร์กำลังเผชิญกับภาวะขาลง ทีมผู้บริหารที่มีประสบการณ์ของอินโดรามา เวนเจอร์ส กำลังทำงานอย่างหนักเพื่อลดภาระหนี้และเพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจภายใต้กลยุทธ์ IVL 2.0 ของบริษัทฯ เพื่อให้สามารถเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งและขับเคลื่อนคุณภาพของรายได้ในยุคที่อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น และภูมิทัศน์ของอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ตามที่ได้ระบุไว้ในงาน Capital Markets Day เมื่อวันที่ 6 มีนาคม ของปีนี้ และยืนยันอีกครั้งในรายงานความคืบหน้าช่วงกลางปี เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม บริษัทฯ มีความคืบหน้าอย่างมากสำหรับการดำเนินกลยุทธ์ IVL 2.0 ในไตรมาสที่ 2 ปี 2567 โดยได้บันทึกการด้อยค่าของสินทรัพย์และตั้งสำรองค่าใช้จ่ายจำนวน 666 ล้านเหรียญสหรัฐ (ซึ่งจำนวน 543 ล้านเหรียญสหรัฐไม่ใช่เงินสด) ภายใต้โครงการเพิ่มประสิทธิภาพสินทรัพย์เพื่อปรับปรุงการผลิตและลดค่าใช้จ่ายคงที่ ซึ่งจะเห็นผลลัพธ์ตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 2567 เป็นการประหยัดต้นทุนได้จำนวน 170 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2568 ทั้งนี้ บริษัทฯ คาดว่าการดำเนินงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสินทรัพย์ที่เหลือจะไม่ก่อให้เกิดการด้อยค่าที่เป็นสาระสำคัญ

ฝ่ายบริหารยังคงมุ่งมั่นในการจัดการต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ รวมถึงโครงการ Olympus 2.0 โดยความพยายามเหล่านี้สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ 47 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในครึ่งแรกของปี 2567 (29 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในไตรมาส 2 ปี 2567) บริษัทฯ ยังคงเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เงินลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยลงทุนในโครงการที่สนับสนุนด้านความยั่งยืน อาทิ โรงงานรีไซเคิลในอินเดีย  ระบบทำงานอัตโนมัติ เทคโนโลยีดิจิทัล รวมถึงโครงการอื่นๆ ที่กำลังดำเนินการ

ส่วนสำคัญของการเปลี่ยนแปลงของอินโดรามา เวนเจอร์ส คือการนำเครื่องมือดิจิทัลและ AI ใหม่ๆ มาใช้เพื่อขับเคลื่อนความเป็นเลิศในการดำเนินงานในด้านหลักๆ ซึ่งรวมถึงการผลิต การพาณิชย์ การจัดซื้อ การขาย การจัดการห่วงโซ่อุปทาน และการเงิน ปัจจุบัน ส่วนสำคัญๆ ในการดำเนินงานมีแพลตฟอร์มบริหารทรัพยากรทั่วทั้งองค์กร SAP S/4HANA เป็นแกนกลางทางดิจิทัล ขณะเดียวกันจะมีการนำตัวโซลูชั่นชั้นนำระดับโลกอื่นๆ มาปรับใช้อย่างเป็นขั้นเป็นตอนไปจนถึงปี 2569

นายอาลก โลเฮีย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทฯ อินโดรามา เวนเจอร์ส กล่าวว่า “เรายังคงมีมุมมองเชิงบวกอย่างระมัดระวังจากการที่เราเห็นการปรับตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปในสภาพแวดล้อมการดำเนินงานของอุตสาหกรรมของเราแม้ว่าจะยังคงมีความท้าทายที่สำคัญที่ยังคงดำเนินไปตลอดวัฏจักร ในช่วงหกเดือนที่ผ่านมา เราได้สร้างเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในองค์กรของเรา รวมถึงการเสริมสร้างทีมผู้นำของเราและมอบอำนาจให้พวกเขาในการขับเคลื่อนโครงการสำคัญต่างๆ ภายใต้กลยุทธ์ IVL 2.0 ของเรา ซึ่งมีเป้าหมายที่ถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจน และไม่เพียงแต่ช่วยให้เราจัดการกับภาวะชะลอตัวในปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังช่วยเตรียมอินโดรามา เวนเจอร์ส ให้พร้อมสำหรับยุคใหม่ของการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาวอีกด้วย”

ผลการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจ

กลุ่มธุรกิจ Combined PET (CPET) ซึ่งรวมถึงเคมีภัณฑ์กลางน้ำ มี Adjusted EBITDA เท่ากับ 234 ล้านเหรียญสหรัฐ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2567 ลดลงร้อยละ 6 เมื่อเทียบไตรมาสต่อไตรมาส และลดลงร้อยละ 25 เมื่อเทียบปีต่อปี เนื่องมาผลกระทบที่เกิดขึ้นครั้งเดียวจากโครงการ NDC ในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 และการลดลงของสเปรดอุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ Integrated PET นอกจากนี้ การหยุดดำเนินการของโรงกลั่นที่ Lake Charles ประเทศสหรัฐอเมริกา ยังส่งผลกระทบต่อ EBITDA ประมาณ 17-18 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยจะค่อยๆ กลับมาดำเนินงานได้ในไตรมาสที่ 3 ปี 2567

กลุ่มธุรกิจ Indovinya มี Adjusted EBITDA ที่แข็งแกร่งเท่ากับ 98 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 41 เมื่อเทียบไตรมาสต่อไตรมาส และเพิ่มขึ้นร้อยละ 85 เมื่อเทียบปีต่อปี สาเหตุหลักมาจากปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้นหลังจากการระบายสต็อกที่ผ่อนคลายลง โดยได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ของสารลดแรงตึงผิวเคมีภัณฑ์ปลายน้ำท่ามกลางฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตในประเทศสหรัฐอเมริกา

สำหรับกลุ่มธุรกิจ Fibers รายงาน Adjusted EBITDA เท่ากับ 39 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 เมื่อเทียบไตรมาสต่อไตรมาส และเพิ่มขึ้นร้อยละ 19 เมื่อเทียบปีต่อปี ด้วยกลยุทธ์การขายที่พัฒนาขึ้น และการมุ่งบริหารจัดการต้นทุนอย่างรอบด้าน แม้ว่าปริมาณการขายจะลดลง โดยเฉพาะในธุรกิจไลฟ์สไตล์

[1] ข้อมูลทางการเงินที่ปรับปรุงแล้วหมายถึงรายการก่อนกาไร/(ขาดทุน)ของสินค้าคงคลังและรายการพิเศษ รายละเอียดระบุในคำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ (MD&A)


Spread the love