นิทรรศการ “Deja vu: The Last Chapter (Part 3)” โดยศิลปินไทย นที อุตฤทธิ์
นิทรรศการ “Deja vu: The Last Chapter (Part 3)” โดยศิลปินไทย นที อุตฤทธิ์
22 มิถุนายน – 6 กรกฎาคม 2567
ริชาร์ด โคห์ ไฟน์อาร์ต (กรุงเทพฯ) อาคารปีเตอร์ซัน เลขที่ 712/1 ชั้น 9 ถนนสุขุมวิท
พิธีเปิดนิทรรศการ: วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน เวลา 13.00 – 16.00 น.
ริชาร์ด โคห์ ไฟน์อาร์ต กรุงเทพฯ (RKFA) รู้สึกตื่นเต้นที่จะนำเสนอภาคจบของ “Déjà vu: The Last Chapter (Part 3)” ภาคสุดท้ายในซีรีส์สามตอนของศิลปินชื่อดังชาวไทย นที อุตฤทธิ์ นิทรรศการนี้จะจัดแสดงตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน – 6 กรกฎาคม 2567 ที่ ริชาร์ด โคห์ ไฟน์อาร์ต กรุงเทพฯ
“Déjà vu: The Last Chapter” ผลงานภาคจบชุดนี้แสดงให้เห็นถึงการนำเสนอโดยใช้ความรู้ และทักษะที่หลากหลายของนที อุตฤทธิ์ ครอบคลุมถึงงานกระจกสี งานปัก ประติมากรรม และงานจิตรกรรม สื่องานผสมแต่ละประเภทจะพาท่านร่วมทบทวนถึงช่วงเวลาสำคัญที่มีอิทธิพลต่อรูปแบบศิลปะตะวันตกอีกครั้ง โดยเชิญชวนให้ผู้ชมครุ่นคิดทบทวนเรื่องราวที่เป็นที่ยอมรับของการพัฒนาทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ ซีรีส์นี้จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนตามลำดับซึ่งจัดแสดงเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายนถึงมิถุนายนนี้ เพื่อให้ผู้ชมมีส่วนร่วมอย่างลึกซึ้งกับการพิจารณาถึงเรื่องราววัฒนธรรมที่มีมา และการตีความหมายใหม่ทางประวัติศาสตร์ของศิลปิน
เดจาวู สื่อถึงปรากฏการณ์ “ที่ทำให้เราหวนนึกถึงฉาก และเหตุการณ์ต่าง ๆ ราวกับเคยเกิดขึ้นมาก่อน” แสดงให้เห็นถึงความคิดของศิลปินโดยการผสมผสานการนึกถึงภาพอดีต และปัจจุบันเข้าด้วยกัน ซีรีส์เดจาวูถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในปี 2562 โดยเริ่มต้นด้วยการสมมุติถึงการเดินทางของพระพุทธเจ้าไปสู่โลกทางตะวันตกเพื่อพบกับวัฒนธรรมกรีก-โรมัน และสัญลักษณ์ชองชาวตะวันออก และตะวันตกอื่นๆ โดยปรากฎเรื่องราวเหล่านี้ในนิทรรศการทั้งสามตอน
ความคิดถูกขับเคลื่อนด้วยการค้นหาตัวตน และจากการพิจารณาอย่างละเอียดถึงสภาพของอาณานิคมที่ยังคงปรากฏอยู่ในประเทศไทย นทีเริ่มด้วยการวิเคราะห์ถึงวัฒนธรรมของเขาอย่างไตร่ตรอง ซึ่งในระหว่างการเดินทางทางความคิดครั้งนี้ ได้ทำให้เขาได้มีส่วนร่วมในวาทกรรมในยุคอาณานิคมผ่านทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นแหล่งรวมจิตวิญญาณ และวัฒนธรรมของเอเชีย ในกระบวนการแสดงถึงความเป็นตัวตนของศิลปิน สื่อ และองค์ประกอบของงานของเขามีบทบาทสำคัญ สื่อแต่ละประเภทตั้งแต่ภาพวาด และประติมากรรมไปจนถึงงานเย็บปักถักร้อย กระจกสี และภาพพิมพ์แกะไม้นั้น ถูกสอดคล้องกับช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ที่หล่อหลอมหลักพระคัมภีร์ของชาวตะวันตก
Part 3 “เดจาวู: บทสุดท้าย (ตอนที่ 3)” เน้นไปที่ภาพวาดของนที ผลงานที่นำเสนอนี้ท้าทายความไม่น่าจะเป็นไปได้ทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม โดยหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งความเป็นไปได้: จะเกิดอะไรขึ้นถ้าดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันตก? จะเป็นอย่างไรหากองค์พระพุทธเจ้าเสด็จไปทางตะวันตก? กับสถานการณ์สมมุติที่กระตุ้นถึงความคิดเหล่านี้ ความเหมือนกันระหว่างวัฒนธรรมที่แตกต่างกันจึงเกิดขึ้น และถักทอเป็นเรื่องเล่าวัฒนธรรมตะวันตก/ตะวันออกใหม่ ด้วยการถ่ายทอดด้วยภาษาศิลปะของศิลปิน
เกี่ยวกับศิลปิน:
นที อุตฤทธิ์ (เกิดเมื่อปี 2513 ที่กรุงเทพฯ) เข้าศึกษาในคณะวิจิตรศิลป์ในปี 2530 และจบการศึกษาด้านศิลปะการออกแบบกราฟิกจากที่คณะจิตรกรรมและประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ในปี 2534 นิทรรศการเดี่ยวของเขาประกอบด้วย Optimism is Ridiculous: the Altarpieces ณ The Private Museum ในสิงคโปร์ (2561); Optimism is Ridiculous: the Altarpieces ณ หอศิลป์แห่งชาติอินโดนีเซีย กรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย (2560); Optimism is Ridiculous: the Altarpieces ณ พิพิธภัณฑ์อายาลา กรุงมะนิลา ฟิลิปปินส์ (2560); Illustration of the Crisis ณ หอศิลป์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ กรุงเทพฯ (2556); After Painting ณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์ สิงคโปร์ (2553) และ The Amusement of Dreams, Hope and Perfection ณ ศูนย์ศิลปะแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ (2550) นิทรรศการกลุ่มล่าสุด ได้แก่ Beyong Bliss ณ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2018 (2561); Contemporary Chaos ณ Vestfossen Kunstlaboratorium ประเทศนอร์เวย์ (2561);Thai Eye ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และ Saatchi Gallery ณ ลอนดอน สหราชอาณาจักร (2559/2558); Art of ASEAN ณ พิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ของธนาคารเนการา กัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย (2558); Time of Others ณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยโตเกียว ญี่ปุ่น (2558) และ Asian Art Biennale 2013: Everyday Life ณ พิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์แห่งชาติไต้หวัน (2556) ผลงานของเขารวมอยู่ในคอลเล็กชั่นที่โด่งดังมากมาย เช่น มหาวิทยาลัยกรุงเทพ หอศิลป์ควีนส์แลนด์และแกลลอรีศิลปะสมัยใหม่ เมืองบริสเบน พิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์ รวมถึงคอลเล็กชั่นส่วนตัวในยุโรปและเอเชีย
การปฏิบัติที่หลากหลายของอุตฤทธิ์มุ่งเน้นไปที่การสำรวจสื่อจิตรกรรมที่เชื่อมโยงกับภาพถ่ายและศิลปะตะวันตกคลาสสิก แสงและเปอร์สเปคทีฟเป็นองค์ประกอบบางส่วนที่ศิลปินเลือกใช้ โดยเน้นที่การวาดภาพเป็นวิธีหนึ่งในการสำรวจการสร้างภาพ ภาพที่ซับซ้อนของเขาซึ่งใช้อุปมาอุปมัยที่หลากหลายซึ่งมักจะอยู่ในรูปแบบของหุ่นนิ่งแบบดั้งเดิม บ่งบอกถึงภูมิทัศน์ทางสังคมและการเมืองของประเทศไทยในปัจจุบัน
ริชาร์ด โคห์ ไฟน์อาร์ต กรุงเทพฯ เปิดตั้งแต่เวลา 11:00น.-19:00น. ที่อาคาร Peterson 712/1 ถ. สุขุมวิท แขวง-คลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 สามารถจอดรถได้ที่ 22 Volts ติดกับร้านหนังสือ Dasa ติดกับตึก Peterson ชั่วโมงละ 50 บาท